วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มะเร็งคืออะไร

มะเร็งคืออะไร
มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
เท่าที่มีรายงานไว้ใน ขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรค ที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น
 
 
• --------------------------------------------------------------- •








แหล่งที่มา : http://www.nci.go.th/Knowledge/whatis.html

อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง

อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง
1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน

12 ประการ...ป้องกันมะเร็ง

ข้อพึงปฏิบัติ 12 ประการเพื่อการป้องกันและลดการเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็ง


5 ประการเพื่อการป้องกัน

1. รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ
2.รับประทานอาหารที่มีกากมากเช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
3.รับประทานอาหารที่มีเบต้า- แคโรทีน และ ไวตามินเอ สูงเช่น ผัก ผลไม้ สีเขียว-เหลืองเพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอด
4. รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆเพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร
5. ควบคุมน้ำหนักตัวโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออก กำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้ พลังงานสูง จะช่วยป้องกันมะเร็ง เหล่านี้ได้

7 ประการเพื่อลดการเสี่ยง

1.ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้นอาหารที่มีราขึ้นโดยเฉพาะสีเขียว-เหลือง จะมีสารอัลฟาทอกซินปนเปื้อนซึ่งอาจเป็น สาเหตุของโรคมะเร็งตับ
2. ลดอาหารไขมันอาหารไขมันสูงจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่และต่อมลูกหมาก
3.ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง-ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท- ไนไตร์ทอาหารเหล่านี้ จะทำให้เสี่ยงต่อ มะเร็ง หลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
4.ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ฯลฯจะทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ และเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งของท่อน้ำดีในตับ
5.หยุดหรือลดการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่ จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งปอด กล่องเสียง ฯลฯ การเคี้ยว ยาสูบจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และช่องคอ
6.ลดการดื่มแอลกอฮอล์ดื่มแอลกอฮอล์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ตับ ถ้าทั้งดื่มและสูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง และหลอดอาหาร
7. อย่าตากแดดตากแดดจัดมากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งผิวหนัง
• --------------------------------------------------------------- •






แหล่งที่มา : http://www.nci.go.th/Knowledge/do12.html

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง


 
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง


โดยทั่วไปแล้ว สตรีมักจะพบสิ่งผิดปกติของเต้านมได้ด้วยตนเองก่อนที่จะไปพบแพทย์ โดยเฉพาะการพบก้อน ตุ่มหรือไตแข็งผิดปกติที่เต้านม ดังนั้น โปรดอย่างนิ่งนอนใจควร รีบปรึกษาแพทย์ เพราะหากเป็นเนื้อร้ายหรือ มะเร็งเต้านม จะได้รับการรักษาทันท่วงที พึงจำไว้ว่ายิ่งพบความผิดปกติได้เร็วเพียงไร โอกาสในการักษาให้หายขาดและปลอดภัย ก็มีมากขึ้นเพียงนั้นวิธีที่จะช่วยให้สตรีได้พบสิ่งผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก คือ การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ในระยะหลังจากหมดประจำเดือนประมาณ 7 วัน ไม่ควรตรวจในช่วงที่เต้านมคัดตึง เพราะการตรวจอาจผิดพลาดได้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำดังนี้ 

ขั้นที่ 1 ตรวจในขณะอาบน้ำ
ขณะอาบน้ำเป็นระยะเวลาที่ผิวหนังเปียกและลื่นจะทำ ให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนี้วมือวาง ราบบนเต้านม คลำและเคลื่อนนิ้วมือ ในลักษณะคลึง เบาๆ ให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหาก้อนหรือ เนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึงทำการ ตรวจเต้านมขั้นต่อไป
ขั้นที่ 2 การตรวจหน้ากระจก
ก. ยืนตรงมือแนบลำตัว แล้วยกแขนขึ้นสูงเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะของเต้านมเพราะการเคลื่อนยกแขนขึ้นนั้น จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้ข. ยกมือท้าวเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิด การเกร็งและหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตดูลักษณะ ที่ผิดปกติ
ขั้นที่ 3 การตรวจในท่านอน
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
ภาพที่ 3
นอนราบและยกมือข้างหนึ่งไว้ใต้ศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่ง ตรวจคลำให้ทั่วทุกส่วน ของเต้านม (ภาพที่ 1, 2 และ 3 )โดยเริ่มต้นที่จุดบริเวณส่วนนอกเหนือสุดของเต้านม (จุด X ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านม แล้วเคลื่อนมือเขยิบเข้ามาเป็นวงแคบเข้าจนถึง บริเวณหัวนม จากนั้น ค่อย ๆ บีบหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เพื่อสังเกตดูว่ามี น้ำเลือดน้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ อื่นใดออกมาหรือไม่เสร็จแล้ว ตรวจเต้านมอีกข้างหนึ่ง ในลักษณะเดียวกัน 

• --------------------------------------------------------------- •






แหล่งที่มา : http://www.nci.go.th/Knowledge/nom.html

9 เคล็ดลับ อาหารต้านมะเร็ง


เคล็ดลับ อาหารต้านมะเร็ง

               
ปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งนั้นพบว่ามีปัจจัยที่สำคัญแบ่งได้เป็น กลุ่มได้แก่
1. เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคร้อยละ 30
2. เกิดจากบุหรี่และเหล้าร้อยละ 30
3. เกิดจากการติดเชื้อร้อยละ 20
4. เกิดจากสาเหตุอื่นๆร้อยละ 20
พฤติกรรมการบริโภคที่ดีสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ถึงร้อยละ30 มีคำแนะนำ ประการดังนี้
1. กินผักหลากสีทุกวัน สารที่ก่อมะเร็งจะทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ( Free radicals) ซึ่งสารนี้จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลสำคัญในร่างกายเช่น โปรตีน ไขมัน และดีเอ็นเอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะถูกกำจัดได้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) ที่มีในผักและผลไม้ ผักแต่ละสีแต่ละชนิดมีประโยชน์และให้คุณค่าที่แตกต่างกัน ควรรับประทานผักให้หลากหลายหรือให้ครบ สี จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพ ตัวอย่างของผักและสารสีต่างๆได้แก่ สารสีแดง ในมะเขือเทศ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ไลโคปีน (Lycopene) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด สารสีเหลืองส้ม ในฟักทอง แครอท มีสารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนนอยด์ (Beta-carotene) และอุดมไปด้วยวิตามินที่สามารถต้านการเกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย การบริโภคควรทำให้สุกก่อน         สารสีเขียว ในคะน้า บล็อคโคลี่ ผักบุ้ง กวางตุ้ง ตำลึง มีวิตามินซี และวิตามินเอ    สารสีม่วง ในกะหล่ำสีม่วง ชมภู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง ดอกอัญชัญ มีสารแอนโทไซยานิน(Anthocyanin) ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง สารสีขาว ในมะเขือขาวเปราะ ผักกาดขาว ดอกแค     มีเบตาแคโรทีนสูง ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระ
2. ขยันหาผลไม้เป็นประจำ เช่นเดียวกับผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
3. ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย ธัญพืชเต็มเมล็ด คือ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุดทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่นใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ไฟโตนิวเตรียนท์ และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ตัวอย่างได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย นอกจากนี้ใยอาหารในธัญพืชยังทำหน้าที่สำคัญในการพาสารต่างๆที่เป็นโทษต่อร่างกายซึ่งติดบริเวณลำไส้ให้ขับถ่ายออกไป จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่
4. ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร เครื่องเทศหมายถึง ส่วนต่างๆของพืชที่นำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารหรือเพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอม สารประกอบอินทรีย์ที่เป็นกลิ่นหอมของเครื่องเทศนั้นมาจากส่วนที่เป็นน้ำมัน(Fixed oil)และน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) ส่วนรสชาติที่เผ็ดร้อนนั้นมาจากส่วนที่เป็นยาง (Resins) นอกจากนี้ยังมีสารหลายชนิดซึ่งมีสรรพคุณลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้
5. เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ชาเขียวได้มาจากการนำยอดใบชาสดมาผ่านกระบวนการอบ เพื่อลดความชื้นโดยไม่ผ่านการหมัก ในชาเขียวมีสาร Polyphenol และ Flavonoidหรือที่เรียกว่า Catechins ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ การดื่มชาเขียวควรดื่มทันทีหลังจากชงเสร็จเนื่อจากถ้าทิ้งไว้ ชาเขียวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้สูญเสียคุณค่าไป
6. ปรุงอาหารถูกวิธี หลีกเลี่ยงการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม ไม่รับประทานอาหารแบบดิบๆสุกๆโดยเฉพาะปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด
7. หลีกหนีอาหารไขมัน ไขมันมีสองประเภท ประเภทที่ไม่ดีได้แก่ไขมันอิ่มตัว ในนมเนย ไขมันสัตว์ มะพร้าว น้ำมัมปาล์ม และน้ำมันทอดซ้ำ ประเภทที่ดี ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัว พบใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกทานตะวันและปลาที่มีมันมากเช่น ปลาซาดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาจาระเม็ด ปลาช่อน ปลาสำลีเป็นต้น
8. ลดบริโภคเนื้อแดง ควรจำกัดการรับประทานเนื้อแดงให้เหลือเพียงสัปดาห์ละ 500 กรัม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ ชุดอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ได้แก่ สเต็กคู่กับมันฝรั่ง เบคอนกับไข่ และเนื้อย่างโดยไม่มีผัก
9. ลดบริโภคเกลือแกงอาหารหมักดอง ในวันหนึ่งๆควรบริโภคเกลือไม่เกินวันละ กรัม การบริโภคอาหารที่มีปริมาณเกลือสูงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรเลี่ยงอาหารหมักดองหรือปรุงแต่งสีด้วยดินประสิวเช่น ปลาร้า ปลาส้ม แหนม กุนเชียง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เพราะมีสารก่อมะเร็งที่เรียกว่าสารไนโตรซามีน
 ด้วยความปรารถนาดีจาก

    



แหล่งที่มา   :  http://www.oknation.net/blog/sukit/2012/02/02/entry-1

10 อันดับ อาหารต้านมะเร็ง


10 อันดับ อาหารต้านมะเร็ง
                                                                                                                                     

1.       ผัก  - ผักมีกากใยปริมาณมาก  ซึ่งผักที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านมะเร็ง ได้แก่
v   กลุ่มผักมีสี เช่น บีทรูท ผักโขม แครอท มะเขือเทศ  ยิ่งมีสีเข้มมมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงว่ามีสารที่มีประโยชน์ (phytochemical) มากขึ้นเท่านั้น   รงควัตถุเหล่านี้ได้แก่ ไบโอฟลาวินอยด์ 20,000 ชนิด และแคโรทีนอยด์ 800 ชนิด ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องร่างกายและยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์มะเร็ง
v   กลุ่มกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี กะหล่ำดอก   ในผักชนิดนี้จะมีสารต้านมะเร็ง  สารที่ช่วยขจัดสารพิษ ตลอดจน อินดอล-3-คาร์บินอลและซัลโฟราเฟน
v   หัวหอม&กระเทียม  ประกอบด้วยไบโอฟลาวินอยด์หลายชนิดด้วยกัน หนึ่งในนั้นได้แก่ เคอร์ซิทิน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้  นอกจากนี้ยังมีสารต้านมะเร็งอื่นๆ ได้แก่ อัลลิซิน เอส-อัลลิล ซิสทีอินซีลีเนียม และสารที่เรายังไม่รู้จักอีกมากมาย   ดังนั้นจึงเป็นเรื่องดี ที่เราจะรับประทานกระเทียมและหัวหอม เป็นประจำ
2.       ปลาน้ำเย็น เช่น แซลมอน คอท แมคเคอเรล  ซาร์ดีน  ทูน่าและปลาจากทะเลน้ำลึก  ในปลา  เหล่านี้จะอุดมไปด้วยไขมันที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ได้แก่ EPA(eicosapentaenoic acid) และ DHA ( docosahexaenoic acid) ซึ่งชะลอการแพร่ของมะเร็ง  กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และยังประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆที่พบในน้ำทะเล แต่ไม่พบในดิน
3.       ถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ในถั่วเหล่านี้พบว่ามีสารต้านโปรตีเอสในปริมาณสูง(มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง) นอกจากนี้ยังพบว่ามีอินโนซิทอล เฮกซาฟอสเฟต(กรดไฟตริก ซึ่งในท้องตลาด จะขายในรูปของ IP-6)  และจีเนสเตอิน (ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งตีบลง)   นอกจากนี้ในถั่วยังอุดมไปด้วยกากใยที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งจะช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายตามธรรมชาติ
4.       เมล็ดธัญพืช เช่นข้าว โอ๊ต  บาร์เลย์  ข้าวโพด ข้าวสาลี  เนื่องจากเมื่อกากใยของพืชเหล่านี้แตกตัวที่ลำไส้จะเปลี่ยนเป็นกรดบิวไทริกที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
5.       สาหร่ายทะเล  จะประกอบด้วยสารบางชนิดที่ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร  และยังประกอบด้วยกากใยชนิดพิเศษที่สามารถละลายน้ำได้ซึ่งจะเป็นตัวกลางในการนำไขมันอันตราย สารอนุมูลอิสระ สารพิษต่างๆออกจากลำไส้     นอกจากนี้สาหร่ายทะเลยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุอย่างดีจากน้ำทะเล
6.       เบอร์รี่ เช่น ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่  เบอร์รี่สีดำ เพราะในเบอร์รี่จะมีสารต้านมะเร็งในปริมาณสูง และยังมีกรดอัลลาจิกที่จะทำลายเซลล์มะเร็งให้ตาย
7.       โยเกิร์ต  เนื่องจากในโยเกิร์ตจะมีแบคทีเรียชนิดแลคโตบาซิลัส ที่สามารถหมักนมให้เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน  และเนื่องจากกว่า 80% ของระบบภูมิคุ้มกันจะอยู่ที่ทางเดินอาหาร  ดังนั้นโยเกิร์ตจึงเป็นอาหารที่จัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับร่างกายในการป้องการติดเชื้อและยังช่วยต้านมะเร็งอีกด้วย
8.       ชาเขียว  ประกอบด้วยคาเทชินและสารเคมีในพืชอีกหลายชนิดด้วยกัน  จากงานวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติประเทศญี่ปุ่นและจีน พบว่าชาเขียวสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งและยังสามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้
        หมายเหตุ  การดื่มชาเขียวให้ได้รับประโยชน์เต็มที่นั้น ต้องดื่มทันทีหลังจากชงเสร็จ เนื่องจากถ้าทิ้งไว้ชาเขียวจะทำปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ  ทำให้สูญเสีย   คุณค่าไป
9.       เครื่องเทศ  -มาสตาร์ด  พริก พริกไท  กระเทียม หัวหอม  ขิง โรสแมรี่  อบเชยและเครื่องเทศอื่นๆที่ใช้ปรุงแต่งรส  สามารถต้านมะเร็งและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
10.    น้ำสะอาด  - เป็นเรื่องแปลกที่กว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่บนโลกและของร่างกายนั้นประกอบด้วยน้ำ  เนื่องจากน้ำนั้นเป็นเป็นสารตัวกลางสำคัญของร่างกายที่ใช้ในขบวนการต่างๆของเซลล์ อาทิเช่น ควบคุมสมดุลกรด-ด่าง  การทำความสะอาด  การขจัดสิ่งสกปรก  และยังนำพาสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่เซลล์  ตลอดจนนำของเสีย หรือสารพิษออกจากเซลล์อีกด้วย